การจัดการองค์ความรู้การอนุรักษ์สมุนไพรมะหาดในชุมชนท้องถิ่น เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Keywords:
การจัดการองค์ความรู้, การอนุรักษ์สมุนไพรมะหาด, กิจกรรมเชิงอนุรักษ์Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการองค์ความรู้การอนุรักษ์สมุนไพรมะหาดของชุมชนเกาะเกร็ด ตําบล เกาะเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีระยะเวลาการวิจัยตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงกันยายน พ.ศ. 2562 มี ประชากรคือชาวชุมชนเกาะเกร็ดหมู่ 1 และ 7 ปากเกร็ด นนทบุรี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวบ้านผู้ให้ข้อมูล หลักและนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรม จํานวน 40 คน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การสืบค้นข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิ การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ปัญหาของชุมชนคือ การอนุรักษ์สมุนไพรมะหาด เนื่องจากมะหาด ได้ลดจํานวนลงและอาจสูญพันธุ์ไปได้ในอนาคต จึงส่งผลให้ชาวบ้านจัดการอนุรักษ์สมุนไพรมะหาดด้วยการจัด กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ให้นักท่องเที่ยวเดินชมการสาธิตการผลิตสบู่และสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม รวม ทั้งเพื่อศึกษาสภาพและปัญหา กระบวนการเครื่องมือ และปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ สมุนไพรมะหาดในชุมชน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่ 1 มีความรู้เน้นหนักในด้านการผลิตสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม มีเป้า หมายเพื่อใช้ความรู้ในการประกอบอาชีพ การดูแลสุขภาพผิวพรรณแบบพึ่งตนเอง การพัฒนากลุ่ม เป็นแหล่งเรียนรู้ สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชาวบ้านทั้งภายใน และภายนอกชุมชน ปัญหาที่พบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือการรวบรวมจัดเก็บความรู้ที่เป็นระบบเพื่อสืบทอดให้ ลูกหลาน การสนับสนุนจากหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ด้านกระบวนการจัดการองค์ความรู้ ได้แก่ การวิเคราะห์ความ ต้องการความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ใหม่ การรวบรวมจัดเก็บความรู้ การเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ การ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ผู้นํากลุ่ม การมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้น การเปิดใจ วัฒนธรรมภายในชุมชน เครือข่ายสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และการได้รับการยกย่องให้รางวัล ผลจากการท่องเที่ยวที่มีต่อ ผู้คนในสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การจัดการองค์ความรู้โดยการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์มะหาดเชิงสร้างสรรค์เป็นการท่องเที่ยวแนวใหม่ซึ่งมีจุดประสงค์ ในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้การอนุรักษ์สมุนไพรมะหาดซึ่งกันและกัน ช่วยให้ชาวบ้านตระหนักในคุณค่าของชุมชน และยังช่วยให้นักท่องเที่ยวได้พัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง ประสบการณ์ที่ได้จากการ เรียนรู้สามารถนําไปใช้ในชีวิตได้ ชาวบ้านจะมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่ 1 สร้างอาชีพและสร้างรายได้ ให้กับกลุ่ม
Published
Versions
- 2022-06-01 (5)
- 2022-06-01 (4)
- 2022-06-01 (3)
- 2022-06-01 (2)
- 2022-05-31 (1)