การประเมินคุณภาพน้ำและการวิเคราะห์สัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออก จังหวัดปทุมธานี
Keywords:
วิเคราะห์คุณภาพน้ำ, การใช้ประโยชน์พื้นที่, ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, น้ำเสียAbstract
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในจังหวัดปทุมธานีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบ ต่อการลดลงของพื้นที่ธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง การสูญเสียพื้นที่เหล่านี้จะมีผลกระทบสืบเนื่องหลาย ประการด้วยกัน คุณภาพของน้ำ ถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ท้องถิ่น รวมถึงคุณภาพของแหล่งพัก ผ่อนหย่อนใจ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพน้ำและศึกษาความแตกต่างของ คุณภาพน้ำตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในบริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดปทุมธานี โดย ได้ทําการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางกายภาพและทางเคมีทั้งหมด 4 บริเวณ ตั้งแต่บริเวณ ต้นน้ำคลองมะเดื่อ บริเวณหน้าศูนย์การแพทย์ฯ จังหวัดนครนายก และคลองสาม จังหวัดปทุมธานี ได้ ทําการเก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยบริเวณที่ศึกษาทั้งหมดเป็นแหล่งน้ำไหลและวิเคราะห์ หาสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินในรัศมี 1 กิโลเมตร ในแต่ละจุดสํารวจโดยใช้โปรแกรม QGIS ผลการศึกษาพบว่า บริเวณนครนายก 2 และปทุมธานี 2 มีค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมดมากกว่าจุด สํารวจอื่น ๆ ทั้งยังเกินมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณนครนายก 2 มีค่า ความเค็มเฉลี่ยของน้ำที่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำชลประทาน ซึ่งการวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่เกินมาตรฐาน นี้มีความสอดคล้องกับสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่เป็นการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม สูงกว่ากิจกรรมอื่น ๆ นอกจากนั้น การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การประเมินคุณภาพน้ำทางกายภาพและ ทางเคมี สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นได้ ทั้งนี้งานวิจัยยังอยู่ในการศึกษาเพื่อต่อยอดให้เยาวชนในพื้นที่ ทราบถึงที่มาของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ เพื่อหาสาเหตุ ป้องกัน และลดการเกิดน้ำเสียที่ต้นทาง ตลอดจนสามารถคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยง การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำในพื้นที่ กับพฤติกรรมการ ใช้ชีวิต ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้