ความหลากชนิด ความมากมาย และช่วงเวลาปรากฏของนกในบริเวณพื้นที่เขาหินปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
Keywords:
กล้องดักถ่ายภาพ, ความหลากชนิดของนก, ความมากมาย, การซ้อนทับเชิงเวลา, พื้นที่สัมปทานเขาหินปูนAbstract
การศึกษาความหลากชนิด ความมากมาย และช่วงเวลาทํากิจกรรมของนกในพื้นที่สัมปทาน เหมืองเขาหินปูน อําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยใช้กล้องดักถ่ายภาพ ดําเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ระยะเวลา 12 เดือน ด้วยการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพ 40 ตําแหน่ง ในพื้นที่ที่มีกิจกรรมสัมปทานเหมืองหินปูนหรือพื้นที่ที่ถูกรบกวน จํานวน 16 ตําแหน่ง 3,232 กับดักคืน และในบริเวณพื้นที่เขาหินปูนธรรมชาติหรือพื้นที่ที่ไม่ถูกรบกวน 24ตําแหน่ง 4,320 กับดักคืน รวม 40 ตําแหน่ง 7,552 กับดักคืน
ผลการศึกษาพบนกรวม 23 ชนิด 14 วงศ์ 7 อันดับ แบ่งเป็นพบในพื้นที่สัมปทานเหมือง หินปูน 19 ชนิด จาก 11 วงศ์ เรียงลําดับค่าความมากมายสัมพัทธ์จากมากไปน้อย 3 อันดับแรกใน พื้นที่สัมปทานเหมืองหินปูน ได้แก่ นกเขาใหญ่ (13.07%) ไก่ป่า (10.10%) และนกแต้วแล้วธรรมดา (4.45%) และพบนกในพื้นที่ธรรมชาติ 11 ชนิด 8 วงศ์ เรียงลําดับค่าควาฐมากมายสัมพัทธ์ในพื้นที่ จากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ไก่ป่า (25.88%) นกเขาใหญ่ (11.38%) และนกกางเขนดง (6.239%) ผลการศึกษาการซ้อนทับในเชิงเวลาระหว่างนกจู่เต้นเขาหินปูนกับนกชนิดอื่นพบว่า ไก่ป่า มีการซ้อนทับกันในเชิงเวลากับนกเต้นเขาหินปูนมากที่สุด 64.37% รองลงมา คือ นกกะรางหัว หงอก (63.03%) นกเขาใหญ่ (59,00%) และนกแต้วแล้วธรรมดา (58.10%) ผลการศึกษาที่ได้สามารถ นําไปใช้ในการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์นกเฉพาะถิ่นในพื้นที่เขาหินปูนต่อไป