การใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการวิเคราะห์ศักยภาพในการอนุรักษ์มวนแมลงดาหายากชนิด Lethocerus patruelis (Hemiptera: Belostomatidae) จากปัจจัยมลภาวะทางแสงระดับท้องถิ่น
Keywords:
ชนิดหายาก, แมลงดานา, การอนุรักษ์แหล่งอาศัยAbstract
ปัจจุบันการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (จีไอเอส) กําลังเป็นที่นิยมเพื่อการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ในการศึกษานี้ได้นําวิธี Distance to nearest neighbor มาใช้กับมวนแมลงดานา Lethocers patruelis (Stal, 1855) ซึ่งหายาก และกําลังถูกคุกคามด้วยมลภาวะทางแสง จนอาจเกิดการสูญพันธุ์ในระดับท้องถิ่นได้จากการสํารวจ ในไทยระหว่างปี 2561-2563 พบ L. patruelis เพียง 2 จุดศึกษา คือใน จังหวัดเชียงรายและ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยพบ ว่า ถิ่นที่อยู่อาศัยของ L. patruelis ที่เชียงรายจะอยู่ใกล้กับมลภาวะแสงมากกว่า ในขณะที่พื้นที่ศึกษาของสุราษฎร์ธานี มีปริมาณของแหล่งมลภาวะแสงระดับท้องถิ่นที่มากกว่า จากผลการศึกษาเบื้องต้นนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะบ่งชี้ภาวะ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของ L. patruelis ได้
Downloads
Published
2022-05-31 — Updated on 2022-06-01
Versions
- 2022-06-01 (3)
- 2022-06-01 (2)
- 2022-05-31 (1)
Issue
Section
Articles