ความหลากชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ป่ามรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้ง ประเทศไทย
Abstract
การศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ป่ามรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง โดยวิธีติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera trap) จํานวน 50 จุดสํารวจ จุดสํารวจละ 60 วัน (60 Trap night) รวมระยะเวลาในการสํารวจทั้งสิ้น 3,000 Trap night จากการศึกษาพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งหมด 40 ชนิด 34 สกุล 16 วงศ์ จาก 8 อันดับ โดยพบอันดับสัตว์ผู้ล่า (Carnivore) มากที่สุดจํานวน 19 ชนิด รองลงมาได้แก่อันดับสัตว์ที่คู่ (Autiodactyla) จํานวน 8 ชนิด และอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จํานวน 6 ชนิด ตามลําดับ ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ทุ่งใหญ่ ตะวันออกมีค่าสูงที่สุด (2.347) รองลงมาคือพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (1.990) และพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ตะวันตก (1.138) ตามลําดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีระดับความชุกชุม มาก (Very common) พบ 1 ชนิด ได้แก่ กวางป่า (Risa unicolor) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีระดับความ ชุกชุมปานกลาง (Common) พบ 4 ชนิด ได้แก่ กระทิง (Bos gaurus) เก้งเหนือ (Muntiacus vaginalis) ช้างป่า (Elephas maximus) และหมูป่า (Sus scrofa) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีระดับความชุกชุมน้อย (Uncommon) พบ 4 ชนิด ได้แก่ ชะมดแผงหางปล้อง (Tiverra zibetha) วัวแดง (Bosjavanicus) เสือ โคร่ง (Panthera tigris) และเสือดาว (Panthera pardus) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยทุนมที่มีระดับความชุกชุม น้อยมาก (rare) พบ 30 ชนิด เช่น กระต่ายป่า (Lepus peguensis) กระรอกท้องแดง (Callosciurus erythraeus) ควายป่า (Bubalus anee) และ ชะมดเช็ด (Viverricula indica) เป็นต้น