This is an outdated version published on 2022-06-06. Read the most recent version.

ความหลากชนิดของนกในพื้นที่อุทยานธรณีสตูล

Authors

  • Administrator NHM Journals
  • Dome Pratumthong

Keywords:

ความหลากชนิด, อุทยานธรณีสตูล, Mckinnon Species List, ดัชนีความหลากหลาย, ดัชนีความคล้ายคลึง

Abstract

ทําการศึกษาความหลากชนิดของนกในพื้นที่อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล ด้วยวิธี Mekinnon Species List จํานวน 3 รอบการสํารวจระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 ถึง เดือนเมษายน 2564 ตามถิ่น อาศัย 4 ประเภท ได้แก่ ชุมชน พื้นที่เกษตร ป่าชายเลน และป่าดิบชื้น จากการสํารวจพบนกทั้งหมด 195 ชนิด 133 สกุล 56 วงศ์ จาก 20 อันดับ โดยอันดับที่พบมากที่สุดคืออันดับนกจับคอน (Passeriformes) จํานวน 91 ชนิด รองลงมาคืออันดับนกตะขาบ (Coraciformes) และอันดับนกชายเลน (Charadriformes) จํานวน 13 ชนิด ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ศึกษาเท่ากับ4.136 โดยในถิ่น อาศัยป่าดิบชื้นมีดัชนีความหลากหลายสูงสุด4.165))และชุมชนมีดัชนีความหลากหลายต่ําที่สุด3.143) การวิเคราะห์ค่าดัชนีความคล้ายคลึง พื้นที่เกษตรและป่าชายเลนมีค่าสูงที่สุด0.633)) รองลงมาคือพื้นที่ เกษตรและพื้นที่ชุมชน0.621) ) และพื้นที่ชุมชนและป่าดิบชื้นความคล้ายคลึงน้อยที่สุด0.261) ) ตาม ลําดับ การประเมินสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ในระดับสากล (IUCN) พบนกอยู่ในระดับความเสี่ยง ขั้นสูงต่อสูญพันธุ์ (EN) 1 ชนิด คือ นกเขียวก้านตองใหญ่ (Chloropsis Sonnerati) ระดับความเสี่ยง ขั้นอันตรายต่อความเป็นอันตรายจากการสูญพันธุ์ (VU) พบ 2 ชนิด คือ นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Rhyticeros subruficollis) และนกหว้า (Argusianus argus) ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อสูญพันธุ์ ในอนาคตอันใกล้ (NT) พบ 13 ชนิด ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นฐานข้อมูลที่สําคัญต่อการอนุรักษ์ความ หลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่าประเภทนกในพื้นที่อุทยานธรณีสตูล ซึ่งมีแนวโน้มถูกเปลี่ยนแปลง อย่างเนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมและกิจกรรมการท่องเที่ยว

Downloads

Published

2022-06-06

Versions