ความหลากชนิดของเอคไคโนเดิร์มบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนองและอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง

Authors

  • Arom Mucharin
  • Ratchaneewarn Sumitrakij

Keywords:

เอคไคโนเดิร์ม, ความหลากหลายทางชีวภาพ, อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง, อุทยานแห่งชาติ, แหลมสน, จังหวัดระนอง, ประเทศไทย

Abstract

ความหลากชนิดของเอคไคโนเดิร์ม บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนองและอุทยานแห่ง ชาติแหลมสน จังหวัดระนอง ชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยทําการเก็บรวบรวมตัวอย่างเอคไคโนเดิร์มจาก แนวปะการังโดยวิธีการดําน้ําแบบใช้เครื่องช่วยหายใจ (SCUBA Diving) ระหว่างวันที่ 17-23 ธันวาคม 2563 และ 19-25 กุมภาพันธ์ 2564 รวมทั้งหมดจํานวน 28 จุดสํารวจ โดยแบ่งเป็น อุทยานแห่งชาติหมู่ เกาะระนอง จํานวน 14 จุดสํารวจ และอุทยานแห่งชาติแหลมสน จํานวน 14 จุดสํารวจ
จากการสํารวจพบเอคไอโนเดิร์มทั้งสิ้น 5 ชั้น 14 อันดับ 19วงศ์ 32 สกุล 42 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่ม คาวขนนก (Crinoidea) 3 ชนิด กลุ่มดาวทะเล (Asteroidea) 6 ชนิด กลุ่มคาวเปราะ (Ophiuroidea) 11 ชนิด กลุ่มเม่นทะเล (Echinoidea) 12 ชนิด และ กลุ่มปลิงทะเล (Holothuroidea) 10 ชนิด จํานวนชนิด ของเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนองพบ 28 ชนิด ชนิดเด่น ได้แก่ เม่นดําหนาม ยาว (Diadema setosum) ดาวขนนกหลากสี (Dichrometra palmata) และปลิงสร้อยไข่มุกขาวใหญ่ (Synaptula sp.) ตามลําดับ และพื้นที่อุทยานแห่งชาติแหลมสนพบ 29 ชนิด ชนิดเด่น ได้แก่เม่นดําหนาม ยาว (Diadema setosum) ปลิงสร้อยไข่มุกขาวใหญ่ (Synaptula sp.) และ เม่นหนามใหญ่ลายขาวหรือ เม่นหัวหงอก (Echinothric calamaris) ตามลําดับ แม้ว่าจํานวนชนิดของทั้งสองอุทยานจะไม่แตกต่าง กัน แต่ชนิดที่พบกลับมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจากความต้องการถิ่นที่อยู่จําเพาะ

Downloads

Published

2022-06-06