การสำรวจความต้องการเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ด้านความหลากหลาย ของทรัพยากรธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมภาคตะวันออก

Authors

  • Artnarong Manosuttirit
  • Siriorn Sakdivilaiskul
  • Phatcharee Thongampai
  • Sirigoon Kuamsap
  • Nathapob Somkid

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมภาค ตะวันออก ภายใต้แผนปฏิบัติการวิจัยศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต อพ.สธ.-ม.บูรพา (สนองพระราชดําริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี) กลุ่มตัวอย่าง คือ สถาบันการศึกษา จํานวน 197 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 213 แห่ง ในเขตภาคตะวันออก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสํารวจความต้องการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 33.5 และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.5 จังหวัดที่ตอบแบบสํารวจมากที่สุด คือ จังหวัดชลบุรี คิดเป็น ร้อยละ 21.7 และผู้ตอบแบบสํารวจเป็นครูผู้สอน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.3 2) ลักษณะหลักสูตร ที่ต้องการ คือ 2.1) หลักสูตรแบบบูรณาการ คิดเป็นร้อยละ 34.4.2.2) หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 24.42.3) หลักสูตรควรเชื่อมโยงกับสถานศึกษา ชุมชน และ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 75.6และ 2.4) องค์กรที่ควรนําหลักสูตรไปใช้คือ สถานศึกษา คิดเป็นร้อย ละ 51 3) หัวข้อหลักสูตรที่ต้องการมากที่สุด คือ มรดกทางศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก คิดเป็นร้อย ละ 73.3 4) ความต้องการสนับสนุนช่วยเหลือ คือ ด้านนักวิชาการและผู้เชียวชาญ คิดเป็นร้อยละ 76 และ 5) องค์ประกอบที่ควรมีในหลักสูตร ได้แก่ ชื่อหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร สาระสําคัญ ของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานในการพัฒนาหลักสูตร การสนับสนุนด้านบุคลากรและงบ ประมาณ มีการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น และการทํากิจกรรมแบบลงพื้นที่จริง เช่น การจัดค่าย การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น

Downloads

Published

2022-06-06