การระบุเพศนกปรอดภูเขา (Ixos mcclellandii) ด้วยขนนกโดยใช้อณูชีววิทยาเทคนิค

Authors

  • Jitmat Thintip

Keywords:

การระบุเพศนก, นกปรอดภูเขา, อณูชีววิทยาเทคนิค

Abstract

นกปรอดภูเขาเป็นนกที่ไม่สามารถระบุเพศได้จากลักษณะภายนอก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุเพศ และตรวจสอบ ความแตกต่างด้านลักษณะสัณฐานวิทยาของนกปรอดภูเขาที่มีความสัมพันธ์กันกับเพศ โดยการระบุเพศนกใช้ตําแหน่ง Chromodomain-helicase-DNA-binding (CHD gene) ด้วยไพรเมอร์ P2/P8, 1237L/1272H และ 2550F/2718R มีเพียงไพรเมอร์เดียว ที่สามารถระบุเพศของนกปรอดภูเขาได้คือ ไพรเมอร์ 2550F/2718R ผลผลิตพีซีอาร์พบว่าเพศเมียมีแถบดีเอ็นเอ 2 แถบที่มีชิ้น ดีเอ็นเอ ขนาด 450 คู่เบส (CHD-W) และขนาด 600 คู่เบส (CHD-Z) และนกเพศผู้มีแถบดีเอ็นเอเพียง 1แถบ ของอัลลีล CHD-Z และการศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศโดยมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายนอกที่มีค่าเฉลี่ยระหว่างเพศที่แตกต่างกันอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติทั้งหมด 11 ลักษณะ ได้แก่ Weight, Total length with feathers (TLF), Length of exposed culmen (LEC), Length of from nostril (LBN), Length of tomium (LT), Length of rictus (LR), Width of mandible at base (WMB), Length of exposed raาus (LER), Tibia, Diameter of middle of tarsus (Mtarsus) และ Length of outer claw (T-outer) โดยมีมีค่า p<0.05 ซึ่งผลการ ศึกษาของการวิเคราะห์จําแนกกลุ่ม (discriminant analysis) โดยใช้ลักษณะ 2 ลักษณะที่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเพศ ได้ คือ ลักษณะ LR โดยเพศเมียมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.61 +/-0.27 มิลลิเมตร และ เพศผู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.23+/-0.72 มิลลิเมตร และลักษณะ TLF โดยเพศเมียมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 206+/-10.6 มิลลิเมตร และเพศผู้มีคาเฉลี่ยอยู่ที่ 222+/-3.30 มิลลิเมตร ในการทํานายสําหรับสร้าง แบบจําลองโดยมีสมการการพยากรณ์ของสมาชิก Y = 77.71+TLE(0.27)+LR(2.78) ที่ Cutoff value = 0 จากการศึกษาในครั้ง นี้สามารถนําไปใช้ในการประเมินโครงสร้างประชากร อัตราส่วนระหว่างเพศเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป

Downloads

Published

2022-06-01 — Updated on 2022-06-01

Versions