การอนุรักษ์แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปะการัง และพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธรณีในจังหวัดสระแก้ว
Keywords:
ซากดึกดําบรรพ์, ปะการัง, สระแก้ว, การท่องเที่ยวเชิงธรณี, ทรัพยากรธรณีAbstract
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการนําเสนอเกี่ยวกับความสําคัญ และความหลากหลายของแหล่งซากดึกดําบรรพ์ปะการัง ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และนําเสนอรูปแบบในการพัฒนาแหล่งซากดึกดําพรรพ์ปะการังเพื่อเป็นแนวทางให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคมในพื้นที่ นําไปขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพื่อ ส่งเสริมเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงธรณี ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่ให้ความสําคัญ กับการอนุรักษ์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ที่นอกจากช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจและ ความตระหนักในความสําคัญของแหล่งซากดึกดําบรรพ์ ในแง่มุมของเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยาแล้ว ยัง สามารถบูรณาการแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิมในรูปแบบของการท่องเที่ยวทางเลือกซึ่งเหมาะสมกับผู้มาเยือนในทุก ช่วงวัย แหล่งซากดึกดําบรรพ์ปะการังในจังหวัดสระแก้วมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางธรณีวิทยาของแนวเทือกเขา หินปูนที่วางตัวแนวตะวันตกเฉียงเหนือตะวันออกเฉียงใต้ต่อเนื่องไปยังด้านทิศตะวันตกของประเทศกัมพูชา สะสม ตัวในสภาพแวดล้อมของทะเลโบราณ ในช่วงมหายุคพาลีโอโซอิกตอนปลาย จนถึงมหายุคมหายุคมีโซโซอิกตอนต้น (298-230 ล้านปีก่อน) ซึ่งพบกลุ่มซากดึกดําบรรพ์ปะการังที่มีความหลากหลายและเป็นช่วงเวลาสําคัญที่มีการเปลี่ยน ผ่านระหว่างกลุ่มปะการังในอันดับ Rugosa และกลุ่มปะการังในอันดับ Scleractinia อีกด้วย
Downloads
Published
Versions
- 2022-06-01 (2)
- 2022-06-01 (1)