Proceeding: Symposium of the Natural History Museum https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings en-US Mon, 06 Jun 2022 06:47:08 +0000 OJS 3.3.0.10 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความหลากชนิดของเอคไคโนเดิร์มบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนองและอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/24 <p>ความหลากชนิดของเอคไคโนเดิร์ม บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนองและอุทยานแห่ง ชาติแหลมสน จังหวัดระนอง ชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยทําการเก็บรวบรวมตัวอย่างเอคไคโนเดิร์มจาก แนวปะการังโดยวิธีการดําน้ําแบบใช้เครื่องช่วยหายใจ (SCUBA Diving) ระหว่างวันที่ 17-23 ธันวาคม 2563 และ 19-25 กุมภาพันธ์ 2564 รวมทั้งหมดจํานวน 28 จุดสํารวจ โดยแบ่งเป็น อุทยานแห่งชาติหมู่ เกาะระนอง จํานวน 14 จุดสํารวจ และอุทยานแห่งชาติแหลมสน จํานวน 14 จุดสํารวจ<br>จากการสํารวจพบเอคไอโนเดิร์มทั้งสิ้น 5 ชั้น 14 อันดับ 19วงศ์ 32 สกุล 42 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่ม คาวขนนก (Crinoidea) 3 ชนิด กลุ่มดาวทะเล (Asteroidea) 6 ชนิด กลุ่มคาวเปราะ (Ophiuroidea) 11 ชนิด กลุ่มเม่นทะเล (Echinoidea) 12 ชนิด และ กลุ่มปลิงทะเล (Holothuroidea) 10 ชนิด จํานวนชนิด ของเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนองพบ 28 ชนิด ชนิดเด่น ได้แก่ เม่นดําหนาม ยาว (Diadema setosum) ดาวขนนกหลากสี (Dichrometra palmata) และปลิงสร้อยไข่มุกขาวใหญ่ (Synaptula sp.) ตามลําดับ และพื้นที่อุทยานแห่งชาติแหลมสนพบ 29 ชนิด ชนิดเด่น ได้แก่เม่นดําหนาม ยาว (Diadema setosum) ปลิงสร้อยไข่มุกขาวใหญ่ (Synaptula sp.) และ เม่นหนามใหญ่ลายขาวหรือ เม่นหัวหงอก (Echinothric calamaris) ตามลําดับ แม้ว่าจํานวนชนิดของทั้งสองอุทยานจะไม่แตกต่าง กัน แต่ชนิดที่พบกลับมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจากความต้องการถิ่นที่อยู่จําเพาะ</p> Arom Mucharin, Ratchaneewarn Sumitrakij Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/24 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 การสำรวจความต้องการเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ด้านความหลากหลาย ของทรัพยากรธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมภาคตะวันออก https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/25 <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมภาค ตะวันออก ภายใต้แผนปฏิบัติการวิจัยศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต อพ.สธ.-ม.บูรพา (สนองพระราชดําริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี) กลุ่มตัวอย่าง คือ สถาบันการศึกษา จํานวน 197 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 213 แห่ง ในเขตภาคตะวันออก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสํารวจความต้องการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 33.5 และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.5 จังหวัดที่ตอบแบบสํารวจมากที่สุด คือ จังหวัดชลบุรี คิดเป็น ร้อยละ 21.7 และผู้ตอบแบบสํารวจเป็นครูผู้สอน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.3 2) ลักษณะหลักสูตร ที่ต้องการ คือ 2.1) หลักสูตรแบบบูรณาการ คิดเป็นร้อยละ 34.4.2.2) หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 24.42.3) หลักสูตรควรเชื่อมโยงกับสถานศึกษา ชุมชน และ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 75.6และ 2.4) องค์กรที่ควรนําหลักสูตรไปใช้คือ สถานศึกษา คิดเป็นร้อย ละ 51 3) หัวข้อหลักสูตรที่ต้องการมากที่สุด คือ มรดกทางศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก คิดเป็นร้อย ละ 73.3 4) ความต้องการสนับสนุนช่วยเหลือ คือ ด้านนักวิชาการและผู้เชียวชาญ คิดเป็นร้อยละ 76 และ 5) องค์ประกอบที่ควรมีในหลักสูตร ได้แก่ ชื่อหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร สาระสําคัญ ของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานในการพัฒนาหลักสูตร การสนับสนุนด้านบุคลากรและงบ ประมาณ มีการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น และการทํากิจกรรมแบบลงพื้นที่จริง เช่น การจัดค่าย การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น</p> Artnarong Manosuttirit, Siriorn Sakdivilaiskul, Phatcharee Thongampai, Sirigoon Kuamsap, Nathapob Somkid Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/25 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 เทอริโดไฟต์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/26 <p>การศึกษานี้เป็นการรายงานความหลากหลายของพืชกลุ่มเทอริโดไฟต์ในเขตพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 229 หมายเลข สามารถระบุเทอริโดไฟต์ได้ รวม 128 ชนิด จาก 59 สกุล 26 วงศ์ ในจํานวนนี้มีพืช 3 ชนิด 3 สกุล 2 วงศ์ ที่จัดเป็นไลโคไฟต์ ใน ขณะที่พืชส่วนใหญ่จัดเป็นโมนิโลไฟต์หรือเฟิร์น วงศ์ที่พบได้ทั่วไปคือ Pteridaceae และ Polypodiaceae พบจํานวน 25 ชนิด และ 20 ชนิด ตามลําดับ เมื่อพิจารณาจากลักษณะถิ่นอาศัย สามารถจําแนก เทอริโดไฟต์ที่พบออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ พืชขึ้นบนดิน (82 ชนิด) พืชอิงอาศัย (25 ชนิด) พืชขึ้นบน หิน (10 ชนิด) และพืชน้ํา (1 ชนิด) และยังพบว่าเทอริโอไฟต์ 10 ชนิดมีถิ่นอาศัยมากกว่า 1 แบบ การ ศึกษานี้พบเทอริโอไฟต์ที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อนในจังหวัดชัยภูมิ จํานวน 101 ชนิด พบเทอริโดไฟต์ ที่มีสถานภาพเป็นพืชมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 2 ชนิด ได้แก่ กูดภู Christella siamensis (Tagawa &amp; K.Iwats.) Holttum และเฟิร์นหิรัญภูหลวง Pteris phuluangensis Tagawa &amp; K.Iwats. vonvint เฟิร์นหิรัญภูหลวงยังมีสถานภาพเป็นพืชถิ่นเดียวที่เคยมีรายงานการพบจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภู หลวง จังหวัดเลยเท่านั้น อีกทั้งยังพบ Alloynium sp. ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นพืชรายงานใหม่ของ ประเทศไทยหรือพืชชนิดใหม่ของโลก</p> Apirada Sathapattayanon, Chattraphas Pongcharoen Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/26 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 การประเมินคุณภาพน้ำและการวิเคราะห์สัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออก จังหวัดปทุมธานี https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/16 <p>การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในจังหวัดปทุมธานีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบ ต่อการลดลงของพื้นที่ธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง การสูญเสียพื้นที่เหล่านี้จะมีผลกระทบสืบเนื่องหลาย ประการด้วยกัน คุณภาพของน้ำ ถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ท้องถิ่น รวมถึงคุณภาพของแหล่งพัก ผ่อนหย่อนใจ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพน้ำและศึกษาความแตกต่างของ คุณภาพน้ำตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในบริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดปทุมธานี โดย ได้ทําการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางกายภาพและทางเคมีทั้งหมด 4 บริเวณ ตั้งแต่บริเวณ ต้นน้ำคลองมะเดื่อ บริเวณหน้าศูนย์การแพทย์ฯ จังหวัดนครนายก และคลองสาม จังหวัดปทุมธานี ได้ ทําการเก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยบริเวณที่ศึกษาทั้งหมดเป็นแหล่งน้ำไหลและวิเคราะห์ หาสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินในรัศมี 1 กิโลเมตร ในแต่ละจุดสํารวจโดยใช้โปรแกรม QGIS ผลการศึกษาพบว่า บริเวณนครนายก 2 และปทุมธานี 2 มีค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมดมากกว่าจุด สํารวจอื่น ๆ ทั้งยังเกินมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณนครนายก 2 มีค่า ความเค็มเฉลี่ยของน้ำที่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำชลประทาน ซึ่งการวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่เกินมาตรฐาน นี้มีความสอดคล้องกับสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่เป็นการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม สูงกว่ากิจกรรมอื่น ๆ นอกจากนั้น การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การประเมินคุณภาพน้ำทางกายภาพและ ทางเคมี สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นได้ ทั้งนี้งานวิจัยยังอยู่ในการศึกษาเพื่อต่อยอดให้เยาวชนในพื้นที่ ทราบถึงที่มาของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ เพื่อหาสาเหตุ ป้องกัน และลดการเกิดน้ำเสียที่ต้นทาง ตลอดจนสามารถคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยง การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำในพื้นที่ กับพฤติกรรมการ ใช้ชีวิต ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้</p> Sireepus Koypokaisawan, Papitchaya Teawkul Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/16 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 ความหลากชนิด ความมากมาย และช่วงเวลาปรากฏของนกในบริเวณพื้นที่เขาหินปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/17 <p>การศึกษาความหลากชนิด ความมากมาย และช่วงเวลาทํากิจกรรมของนกในพื้นที่สัมปทาน เหมืองเขาหินปูน อําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยใช้กล้องดักถ่ายภาพ ดําเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ระยะเวลา 12 เดือน ด้วยการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพ 40 ตําแหน่ง ในพื้นที่ที่มีกิจกรรมสัมปทานเหมืองหินปูนหรือพื้นที่ที่ถูกรบกวน จํานวน 16 ตําแหน่ง 3,232 กับดักคืน และในบริเวณพื้นที่เขาหินปูนธรรมชาติหรือพื้นที่ที่ไม่ถูกรบกวน 24ตําแหน่ง 4,320 กับดักคืน รวม 40 ตําแหน่ง 7,552 กับดักคืน<br>ผลการศึกษาพบนกรวม 23 ชนิด 14 วงศ์ 7 อันดับ แบ่งเป็นพบในพื้นที่สัมปทานเหมือง หินปูน 19 ชนิด จาก 11 วงศ์ เรียงลําดับค่าความมากมายสัมพัทธ์จากมากไปน้อย 3 อันดับแรกใน พื้นที่สัมปทานเหมืองหินปูน ได้แก่ นกเขาใหญ่ (13.07%) ไก่ป่า (10.10%) และนกแต้วแล้วธรรมดา (4.45%) และพบนกในพื้นที่ธรรมชาติ 11 ชนิด 8 วงศ์ เรียงลําดับค่าควาฐมากมายสัมพัทธ์ในพื้นที่ จากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ไก่ป่า (25.88%) นกเขาใหญ่ (11.38%) และนกกางเขนดง (6.239%) ผลการศึกษาการซ้อนทับในเชิงเวลาระหว่างนกจู่เต้นเขาหินปูนกับนกชนิดอื่นพบว่า ไก่ป่า มีการซ้อนทับกันในเชิงเวลากับนกเต้นเขาหินปูนมากที่สุด 64.37% รองลงมา คือ นกกะรางหัว หงอก (63.03%) นกเขาใหญ่ (59,00%) และนกแต้วแล้วธรรมดา (58.10%) ผลการศึกษาที่ได้สามารถ นําไปใช้ในการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์นกเฉพาะถิ่นในพื้นที่เขาหินปูนต่อไป</p> Pemika Kanka, Ronglarp Sukmasuang Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/17 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 การศึกษาเบื้องต้นของความหลากชนิดของแอมฟิพอดในอัมพวาเอสทูรี่ จังหวัดสมุทรสงคราม https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/18 <p>แอมฟิพอดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากชนิดสูงและมีแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย สามารถ พบได้ตั้งแต่แหล่งน้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำจืด และบนบก การศึกษาเบื้องต้นของความหลากชนิดของ แอมฟิพอดที่พบบริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง อําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ทําการเก็บตัวอย่าง ทั้งหมด 4 สถานี ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 และ 25 เมษายน 2564 ซึ่งครอบคลุมแหล่งอาศัย ย่อย ได้แก่ ผักตบชวา สาหร่ายหางกระรอก เปลือกมะพร้าว กาบของต้นจาก ขอนไม้ และวัสดุลอย น้ำ ผลการศึกษาเบื้องต้น พบแอมฟิพอด 6 วงศ์ 8 ชนิดโดยชนิดที่พบอาศัยอยู่ในรากของผักตบ ชวา สาหร่ายหางกระรอก และวัสดุลอยน้ำ ได้แก่ Chelicorophium madrasensis, Grandidierela gilesi, Pariyale hawaiensis และ Quadrivisio menjong ชนิดที่อาศัยอยู่ภายในกาบต้นจากได้แก่ Alorchestoides rosea และชนิดที่ยังระบุชื่อไม่ได้ 1 ชนิด โดย 4. rosea เป็นรายงานแรกในลุ่มน้ำแม่ กลอง นอกจากนี้พบแอมฟิพอดที่อยู่ในเปลือกมะพร้าว รากไม้ และขอนไม้ ได้แก่ Floriesorchestia sp.1 และ Floresorchestia sp.2 แอมฟิพอดที่พบในการศึกษาครั้งนี้มีรูปแบบการกระจายที่แตกต่าง กัน โดยแอมฟิพอดส่วนใหญ่มีรายงานเฉพาะบริเวณอ่าวไทย อย่างไรก็ตามพบว่ามีแอมฟิฟอด 2 ชนิด คือ G. gilesi และ P. hawaiensis เป็นชนิดที่มีการแพร่กระจายได้เป็นวงกว้าง</p> Chanikan Katnoum, Koraon Wongkamhaeng, Piyangkun Lueangjaroenkit Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/18 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 ความหลากชนิดของหอยทากจิ๋วถ้ำทางภาคใต้ของประเทศไทย https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/19 <p>จากการสํารวจความหลากชนิดของหอยทากจิ๋วถ้ําบริเวณพื้นที่แนวเขาหินปูนทางภาคใต้ของ ประเทศไทย ได้แก่ ถ้ําทะลุฟ้าและ ถ้ําโพธิ์ยอม จังหวัดสตูล ถ้ําพระขยางค์ จังหวัดระนองและ ถ้ําช้าง เผือก จังหวัดชุมพร พบหอยจิ๋วถ้ําที่มีความแตกต่างกันทางสัณฐานวิทยาของเปลือก จํานวน 2 สกุล 4 ชนิด และในการศึกษาครั้งนี้ จัดเป็นรายงานครั้งแรกของหอยสกุล Anaglyphilla ในประเทศไทย</p> Nantisa Suksai, Pongrat Dumrongrojwattana Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/19 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 ความหลากชนิด สัณฐานวิทยา และที่อยู่อาศัยของลูกอ๊อดใน พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง และอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/20 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิด สัณฐานวิทยาและที่อยู่อาศัยของ ลูกอ๊อดในอันดับกบ ณ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง และอุทยานแห่งชาติเขาสกโดยเน้นเส้น ทางศึกษาที่อยู่ติดกับเขื่อนรัชชประภา ดําเนินการระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เก็บข้อมูลด้วยวิธี Visual Encounter Survey เดือนละ 5 วัน ทั้งในเวลากลางวันและเวลา กลางคืน จดบันทึกชนิดของลูกอ๊อดที่พบในสภาพนิเวศรูปแบบต่างๆ ในเส้นทางที่กําหนด ลูกอ๊อด ที่พบบางส่วนจะนํากลับมาถ่ายรูป บันทึกลักษณะทางสัณฐานวิทยา และเลี้ยงจนมีการเปลี่ยนแปลง รูปร่างสมบูรณ์เพื่อยืนยันชนิด ผลการศึกษาในครั้งนี้พบลูกอ๊อดทั้งหมด 6 วงศ์ 13 สกุล 17 ชนิด จาก แหล่งน้ำที่เป็นถิ่นอาศัยย่อยที่พบได้เป็น 3 รูปแบบย่อย และพบว่าสัณฐานวิทยาบางประการของลูก อ๊อดมีความสัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังได้มีการบรรยายลักษณะทางสัณฐานวิทยา และ โครงสร้างปาก สําหรับจําแนกชนิดลูกอ๊อดที่ในพื้นที่ศึกษาไว้ด้วย</p> Satreerat Pramkasem, Kriangsak Sribuarod, Patchara Danaisawadi Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/20 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 ความหลากชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ป่ามรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้ง ประเทศไทย https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/21 <p>การศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ป่ามรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง โดยวิธีติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera trap) จํานวน 50 จุดสํารวจ จุดสํารวจละ 60 วัน (60 Trap night) รวมระยะเวลาในการสํารวจทั้งสิ้น 3,000 Trap night จากการศึกษาพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งหมด 40 ชนิด 34 สกุล 16 วงศ์ จาก 8 อันดับ โดยพบอันดับสัตว์ผู้ล่า (Carnivore) มากที่สุดจํานวน 19 ชนิด รองลงมาได้แก่อันดับสัตว์ที่คู่ (Autiodactyla) จํานวน 8 ชนิด และอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จํานวน 6 ชนิด ตามลําดับ ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ทุ่งใหญ่ ตะวันออกมีค่าสูงที่สุด (2.347) รองลงมาคือพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (1.990) และพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ตะวันตก (1.138) ตามลําดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีระดับความชุกชุม มาก (Very common) พบ 1 ชนิด ได้แก่ กวางป่า (Risa unicolor) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีระดับความ ชุกชุมปานกลาง (Common) พบ 4 ชนิด ได้แก่ กระทิง (Bos gaurus) เก้งเหนือ (Muntiacus vaginalis) ช้างป่า (Elephas maximus) และหมูป่า (Sus scrofa) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีระดับความชุกชุมน้อย (Uncommon) พบ 4 ชนิด ได้แก่ ชะมดแผงหางปล้อง (Tiverra zibetha) วัวแดง (Bosjavanicus) เสือ โคร่ง (Panthera tigris) และเสือดาว (Panthera pardus) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยทุนมที่มีระดับความชุกชุม น้อยมาก (rare) พบ 30 ชนิด เช่น กระต่ายป่า (Lepus peguensis) กระรอกท้องแดง (Callosciurus erythraeus) ควายป่า (Bubalus anee) และ ชะมดเช็ด (Viverricula indica) เป็นต้น</p> Dome Pratumthong, Amonpong Khlaipet Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/21 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 ความหลากชนิดของหอยน้ำจืดในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิต https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/22 <p>การศึกษาความหลากชนิดของหอยน้ำจืดในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยังไม่เคยมี รายงานความหลากชนิดของหอยน้ำจืดมาก่อน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นรายงานครั้งแรกในพื้นที่ ได้ทําการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2564 โดยเก็บตัวอย่างหอยน้ำจืดด้วยมือ ใช้สวิงตักจากหน้าดิน และดําน้ำเก็บในบริเวณน้ำลึก จาก ทุ่งนา ลําคลอง และบึงน้ำธรรมชาติ จํานวน 45 จุดสํารวจ ประกอบ ด้วยจุดสํารวจ ในจังหวัดปทุมธานี 21 จุดสํารวจ จังหวัดนครนายก 12 จุดสํารวจ จังหวัดสระบุรี 6 จุด สํารวจ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 6 จุดสํารวจ จากการศึกษาพบหอยน้ำจืดทั้งสิ้น 21 ชนิด 10 วงศ์ จาก 2 อันดับ ประกอบด้วยหอยฝาเดียว 14 ชนิด จาก 8วงศ์และหอยสองฝา 7 ชนิดจาก 2วงศ์นอกจาก นี้ยังพบหอยหมวกเจ๊กน้ำจืด (Ferrissia sp.) ซึ่งมีรายงานเฉพาะในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำภาคเหนือ เป็นครั้ง แรกในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิตและพบหอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน</p> Bang-on Changlom, Wanchai Sukkasem Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/22 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000 ความหลากชนิดของนกในพื้นที่อุทยานธรณีสตูล https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/23 <p>ทําการศึกษาความหลากชนิดของนกในพื้นที่อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล ด้วยวิธี Mekinnon Species List จํานวน 3 รอบการสํารวจระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 ถึง เดือนเมษายน 2564 ตามถิ่น อาศัย 4 ประเภท ได้แก่ ชุมชน พื้นที่เกษตร ป่าชายเลน และป่าดิบชื้น จากการสํารวจพบนกทั้งหมด 195 ชนิด 133 สกุล 56 วงศ์ จาก 20 อันดับ โดยอันดับที่พบมากที่สุดคืออันดับนกจับคอน (Passeriformes) จํานวน 91 ชนิด รองลงมาคืออันดับนกตะขาบ (Coraciformes) และอันดับนกชายเลน (Charadriformes) จํานวน 13 ชนิด ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ศึกษาเท่ากับ4.136 โดยในถิ่น อาศัยป่าดิบชื้นมีดัชนีความหลากหลายสูงสุด4.165))และชุมชนมีดัชนีความหลากหลายต่ําที่สุด3.143) การวิเคราะห์ค่าดัชนีความคล้ายคลึง พื้นที่เกษตรและป่าชายเลนมีค่าสูงที่สุด0.633)) รองลงมาคือพื้นที่ เกษตรและพื้นที่ชุมชน0.621) ) และพื้นที่ชุมชนและป่าดิบชื้นความคล้ายคลึงน้อยที่สุด0.261) ) ตาม ลําดับ การประเมินสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ในระดับสากล (IUCN) พบนกอยู่ในระดับความเสี่ยง ขั้นสูงต่อสูญพันธุ์ (EN) 1 ชนิด คือ นกเขียวก้านตองใหญ่ (Chloropsis Sonnerati) ระดับความเสี่ยง ขั้นอันตรายต่อความเป็นอันตรายจากการสูญพันธุ์ (VU) พบ 2 ชนิด คือ นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Rhyticeros subruficollis) และนกหว้า (Argusianus argus) ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อสูญพันธุ์ ในอนาคตอันใกล้ (NT) พบ 13 ชนิด ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นฐานข้อมูลที่สําคัญต่อการอนุรักษ์ความ หลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่าประเภทนกในพื้นที่อุทยานธรณีสตูล ซึ่งมีแนวโน้มถูกเปลี่ยนแปลง อย่างเนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมและกิจกรรมการท่องเที่ยว</p> Dome Pratumthong, Amonpong Khlaipet Copyright (c) 2022 NHM Proceedings https://thnhmjournals.nsm.or.th/index.php/proceedings/article/view/23 Mon, 06 Jun 2022 00:00:00 +0000